21 กันยายน 2565

รถยนต์ไฟฟ้าดีไหม?

 สิ่งแรกที่เราคาดหวังจากการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าก็คือ ราคาและระยะทำการต่อการชาร์จไฟจนเต็ม แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีความพร้อมมากพอสำหรับการเลือกใช้รถยนต์พลังงานสะอาด แต่ทุกสิ่งทุกอย่างกำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดอัตราภาษีโดยเน้นให้บริษัทรถยนต์หันมาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตหลักของรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน เพิ่มจำนวนสถานีชาร์จไฟให้ครอบคลุมการใช้งานทั่วประเทศ และที่สำคัญก็คือ การสนับสนุนเงินจากภาครัฐตามกฎเกณฑ์ของทางการในการเลือกซื้อยานยนต์พลังงานไฟฟ้า





ระบบของรถยนต์ไฟฟ้า แบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้

1. รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) – ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรีเพียงอย่างเดียว ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายใน สามารถชาร์จไฟได้สม่ำเสมอ โดยใช้เวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชั่วโมง สำหรับการชาร์จปกติ หรือ 2-4 ชั่วโมง สำหรับการชาร์จแบบเร็ว


2. อี พาวเวอร์ (E-Power) – เป็นเทคโนโลยีที่มีการผสมผสานการทำงานระหว่างระบบ Hybrid กับ EV ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยมีเครื่องยนต์ขนาดเล็กทำหน้าที่ปั่นกระแสไฟฟ้าเก็บไว้ที่แบตเตอรี แล้วส่งพลังงานไปยังมอเตอร์ไฟฟ้า หรือให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ พลังงานไฟฟ้าจะถูกสร้างขึ้นจากเครื่องยนต์ แต่ตัวรถจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (แบบรถยนต์ไฟฟ้า EV) ไม่มีการชาร์จไฟ เพียงเติมน้ำมันก็ใช้งานได้ตามปกติแล้ว


3. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) – มีรูปแบบการทำงานที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ผสมกับ พลังงานไฟฟ้า ระบบจะทำงานเองอัตโนมัติ โดยมอเตอร์จะช่วยออกตัวด้วยระบบไฟฟ้า ก่อนที่เครื่องยนต์จะทำงานต่อ หากในกรณีรถติดหรือรถหยุดนิ่ง ถ้ารถมีแบตเตอรีมากพอเครื่องยนต์จะดับ แล้วดึงไฟจากแบตเตอรีมาใช้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไฟหน้ารถ แอร์ เครื่องเสียง


4. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) – หนึ่งในรถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริด ผสานระหว่างเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล เข้ากับ แบตเตอรีขนาดใหญ่ที่ชาร์จไฟได้ ใช้เวลาชาร์จแบตเตอรีให้เต็มประมาณ 4-6 ชั่วโมง สามารถวิ่งได้โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรีอย่างเดียวประมาณ 20-50 กิโลเมตร แต่ก็ยังสามารถกลับมาใช้ระบบไฮบริดที่ใช้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้าได้


5. รถพลังงานไฮโดรเจน (Fuel Cell) – รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน (พลังงานสะอาด) มาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อนำไปขับเคลื่อนให้รถยนต์แล่นไปได้ โดยในโครงสร้างจะมีแผงเซลล์เชื้อเพลิงที่เก็บไฮโดรเจนในรูปแบบของเหลว มอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ขับเคลื่อนควบคู่กับการชาร์จกระแสไฟฟ้าและแบตเตอรี โดยมีหลักการทำงานคือ ส่งไฮโดรเจนและอากาศที่มีออกซิเจนเข้าไปสู่แผงเซลล์เชื้อเพลิง สร้างกระแสไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี แล้วกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรีก็จะถูกส่งไปที่มอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์


6. รถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว (Plug-in Electric Vehicle: PEVS) – คล้ายกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ PHEV แต่จะมีแบตเตอรีขนาดใหญ่เป็นแหล่งพลังงานหลักเพียงอย่างเดียว เมื่อแบตเตอรีหมดจะต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จประจุใหม่ แยกตามการใช้งานได้ดังนี้


รถยนต์ไฟฟ้าประเภท Battery Electric Vehicle (BEV) ขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี 100% ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่มีแบตเตอรีขนาดใหญ่ มีระยะทางการวิ่งที่จำกัด ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรีและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ในการใช้งานและเส้นทางการเดินทาง

รถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles: FCEV) เป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากการเติมเชื้อเพลิงภายนอก ไม่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศจากรถยนต์โดยตรง มีเพียงการปลดปล่อยน้ำเท่านั้น โดยโครงสร้างจะมีแบตเตอรี, แผงเซลล์เชื้อเพลิงหรือ Fuel Cell Stack, ถังแรงดันสูงเพื่อเก็บไฮโดรเจนในรูปแบบของเหลว, มอเตอร์ไฟฟ้า ทำหน้าที่ขับเคลื่อนและชาร์จกระแสไฟฟ้า ส่วนหลักการทำงานจะส่งไฮโดรเจนและอากาศที่มีออกซิเจนเข้าไปสู่แผงเซลล์เชื้อเพลิง เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าเข้ามาเก็บในแบตเตอรี จากนั้นกระแสไฟฟ้าจะถูกส่งไปที่มอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

AI คืออะไร ?